โครงการประกวดออกแบบโลโก้ ศูนย์พายัพ-ยูนุส ธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยพายัพ Payap-Yunus Social Business Center : PYSBC

ชื่อกิจกรรม

การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม(Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อนำตราสัญลักษณ์ (Logo) ที่ชนะการประกวดมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ (Logo) หลักของศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC) ที่สามารถสื่อถึงพันธกิจของหน่วยงานที่เน้นการสร้างสรรค์ธุรกิจที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
  2. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความสามารถในเชิงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบการประกวดตราสัญลักษณ์ (Logo)
  3. เพื่อให้นักเรียนที่สนใจเข้าร่วมส่งผลงานได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อสร้างการรับรู้และเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจที่ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

กำหนดการรับสมัคร

ผู้เข้าประกวดสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 (20.00 น.)

ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ ระหว่างวันที่ 1-15 กันยายน 2567 (20.00 น.)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

ผู้สมัครเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

วิธีการสมัคร

สมัครได้ที่ google form พร้อมอัพโหลดหลักฐานประกอบการสมัคร ตาม QR Code

QR Code การสมัครเข้าร่วมโครงการ

หลักฐานประกอบการสมัคร

  1. สำเนาบัตรนักเรียน หรือหนังสือรับรองการเป็นนักเรียนจากโรงเรียนที่สังกัด (ในกรณีไม่มีบัตรนักเรียน) ผู้สมัครเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (PDF เท่านั้น)
  2. ภาพถ่ายหน้าจอแสดงหลักฐานการกด Like Facebook Fanpage : Payap Center for Social Impact  และหลักฐานการแชร์โพสต์การประกวด Logo Design Contest

วิธีการส่งผลงาน

ส่งแบบฟอร์มส่งผลงานการประกวดตราสัญลักษณ์ (LOGO) ได้ที่ google form และส่งไฟล์ผลงานประกอบด้วย ไฟล์ต้นฉบับ .AI หรือ .PSD หรือ .PNG (ขนาด 1500×1500 Pixel ความละเอียด 300 dpi) ตาม QR Code

QR ส่งผลงาน

รูปแบบการจัดการประกวด          

ผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้จัดจะส่งลิงค์ช่องทางการนำเสนอให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทาง e-mail ที่ผู้สมัครให้ไว้ โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 4 ผลงาน จากผลงานที่ส่งมาทั้งหมด และผลงานที่ได้รับคะแนนการโหวตสูงสุด 1 ผลงาน จะต้องนำเสนอแนวความคิด (pitching) ต่อคณะกรรมการ

กติกาและเงื่อนไขการประกวด

1. ผลงานที่เข้าร่วมการประกวดต้องเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของตนเอง มิได้ลอกเลียนแบบหรือนำผลงานของผู้อื่นมาดัดแปลงนำเสนอ (ส่งได้ไม่เกิน 2 ชิ้นงานต่อผู้สมัคร)

2. ผลงานออกแบบโลโก้ ต้องใช้ไฟล์ที่กำหนดคือ

2.1 ไฟล์งานโลโก้นามสกุล .AI หรือ .PSD หรือ

2.2 ไฟล์งานโลโก้นามสกุล .PNG ขนาด 1500*1500 Pixel 300dpi

3. องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์

3.1 ต้องสร้างการรับรู้ถึงภาพลักษณ์ของศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC)

3.2 ต้องมีชื่อเต็ม หรือชื่อย่อ ของศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC)

3.3 ในการออกแบบให้อิสระทางความคิดในด้านการใช้สีและตัวอักษร แต่ภาพประกอบที่ใช้ในผลงานและตัวอักษรที่ใช้ต้องไม่ละเมิดความเป็นลิขสิทธิ์

4. คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกผลงาน จำนวน 4 ผลงาน จากผลงานที่ส่งมาทั้งหมด และผลงานที่ได้รับคะแนนการโหวตสูงสุด 1 ผลงาน เพื่อผ่านเข้าสู่รอบการนำเสนอ (pitching) ต่อคณะกรรมการ

5. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social

Business Center : PYSBC) ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่

6. คณะกรรมการตัดสิน สามารถใช้สิทธิ์ในการปรับแก้ผลงานเพื่อประโยชน์ในการใช้งานจริงต่อไป

7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด หากปรากฏภายหลังว่ามีการคัดลอกผลงานผู้อื่น หรือละเมิดความเป็นลิขสิทธิ์ เจ้าของผลงานต้องรับผิดชอบด้วยตนเอง

8. ทุกผลงานที่ผ่านการคัดเลือกถือเป็นกรรมสิทธิ์ของศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC)  ซึ่งสามารถปรับแก้ นำไปใช้ ทำซ้ำ และดัดแปลงได้

เกณฑ์การให้รางวัล

คณะกรรมการจะตัดสินผลงานผู้เข้าร่วมการประกวด โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1. แนวความคิดของผลงานสื่อได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของศูนย์พายัพ – ยูนูส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap – Yunus Social Business Center : PYSBC) 40  คะแนน

2. การจัดวางองค์ประกอบและความสมดุลของผลงาน 20  คะแนน

3. การเลือกใช้สีและลวดลายที่โดดเด่นสอดคล้องกับบทบาทของหน่วยงาน 20  คะแนน

4. การนำเสนอผลงาน 20  คะแนน

**หมายเหตุ : ผลการตัดสินของคณะกรรมการ ถือเป็นที่สิ้นสุด จะอุทธรณ์มิได้**

รางวัลการประกวด

  1. รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
    1. ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
    2. ได้รับเกียรติบัตร
  2. รางวัลสำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอต่อคณะกรรมการ จำนวน 3 รางวัล
    1. ได้รับเงินรางวัล ผลงานละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
    2. ได้รับเกียรติบัตร

3. รางวัลพิเศษ “สาธารณะชนนิยม” (Popular Vote) สำหรับโลโก้ที่มีผู้เข้ามากดไลค์มากที่สุดใน Facebook Fanpage : Payap Center for Social Impact จำนวน 1 รางวัล

1. ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)

2. ได้รับเกียรติบัตร

**หมายเหตุ**

  1. หากผลงานที่ได้รับรางวัล Popular Vote ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอต่อคณะกรรมการด้วย จะได้รับเฉพาะรางวัล Popular vote รางวัลเดียวเท่านั้น เว้นแต่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับทั้ง 2 รางวัล
  2. ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจะได้รับเกียรติบัตร โดยจัดส่งให้ทาง e-mail ที่ระบุในใบสมัคร
  • นำผลงานที่ส่งเข้าประกวดเผยแพร่ใน Facebook Fanpage : Payap Center for Social Impact เพื่อชิงรางวัล Popular Vote  ระหว่างวันที่ 17 – 19 กันยายน 2567 (ปิดโหวตเวลา 20.00 น.)
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก และรางวัล Popular Vote  :  วันที่ 20 กันยายน 2567 ทาง Facebook Fanpage : Payap Center for Social Impact
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกนำเสนอผลงาน และรางวัล Popular Vote  :  จะแจ้งวันเวลาในการนำเสนอผลงานให้ทราบทาง e-mail ของผู้ผ่านการคัดเลือกตามที่ระบุในใบสมัคร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook Fanpage : Payap Center for Social Impact (ตามเวลาราชการ)

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ : YUNUS PAYAP Foundation

YUNUS PAYAP Foundation – PYU and AIT

วัตถุประสงค์

  • จัดตั้ง ศูนย์ พายัพ ยูนุส ธุรกิจเพื่อสังคม (Payap Yunus Social Business Center) เพื่อดำเนินการตามหลัก 7 ประการของธุรกิจเพื่อสังคมของยูนุส
  • ร่วมมือและสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัยในด้าน วิชาการ วิจัย และการบริการวิชาการผ่านศูนย์ฯ
  • ร่วมส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนทุกองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ของการประกอบการเพื่อสังคม
  • สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมตามเป้าหมายความยั่งยืน (SDGs)
  • ดำเนินกิจกรรมและโครงการตามหลักการประกอบการเพื่อสังคม
  • พัฒนาและจัดตั้งหน่วยงานที่ดำเนินการตามหลักการประกอบการเพื่อสังคม เช่น Social Business, Social Enterprise, Micro Finance ฯลฯ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบันของยูนุสทั้งในและต่างประเทศ
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
  • สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

PAYAP Yunus Social Business Center

A social business is a non-dividend business whose aim is to solve a social problem through business methods. It is different from both a traditional personal profit-making business and a not-for-profit organization.

Our Mission

Academic Trends: แนวโน้มทางด้านวิชาการ

ความสนใจทางด้านการศึกษาของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วโลก ได้แสดงให้เห็นว่ามีความห่วงใยต่อประเด็นทางสังคม ต้องการการทำสิ่งดีๆให้กับสังคม และต้องการการสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม

หลักสูตรต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะหลักสูตร การประกอบการทางสังคม เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจว่าพวกเขาจะเลือกศึกษาและเข้าทำงานที่ไหน ตามผลการสำรวจของ The Stanford Social Innovation Review เมื่อเร็วฯนี้ (SSIR)

นอกจากนั้นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (HEIs) ในประเทศไทยได้เริ่มผนวกแนวคิดเรื่องวิสาหกิจสังคมเข้ากับหลักสูตรการสอนของสถาบันมากขึ้น จากผลการสำรวจของ The British Council พบว่า 84% ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยที่ตอบการสำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิสาหกิจสังคม SE ในรูปแบบต่างๆ ในขณะที่กว่า 45% มีการเสนอหลักสูตรด้านการประกอบการทางสังคม SE ในระดับต่างๆที่ให้หน่วยกิต (British Council) และจากรายงานของ J.P. Morgan and the Global Impact Investing Network (GIIN) รายงานว่า มูลค่าของตลาดการลงทุนเพื่อสังคมสูงกว่า 50 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ต่อปี และพบว่าการทำธุรกิจและการลงทุนขององค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อสังคมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการให้บริการวิชาการสู่ชุมชน และการเป็นศูนย์กลางทรัพยากรต่างๆทางด้านวิชาการจึงเป็นบทบาทอันสำคัญของศูนย์ฯ

การบูรณาการทางวิชาการของศูนย์

ส่งเสริมการรวมการประกอบการทางสังคมกับการสร้างคุณค่าทางสังคมเข้าสู่หลักสูตรในสถาบันการศึกษา

ดำเนินการวิจัยในโครงการด้านผลกระทบทางสังคมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

ทำหน้าที่เป็นช่องทางในการรับนักศึกษาที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมทางภาคสังคมเข้าศึกษาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

การให้บริการสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทรัพยากร

ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อกับเครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในภาคต่างๆ

สนับสนุนการพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงาน

เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชนในระดับต่างๆ

การสร้างความตระหนักรู้ประเด็นทางสังคม

เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับบทบาท และประโยชน์ของโครงการ/หลักสูตรที่สามารถสร้างผลกระทบทางสังคม

ร่วมมือกับส่วนราชการในการสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่สร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม

สร้างฐานข้อมูลขององค์กรที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างผลกระทบทางสังคมอันพึงประสงค์

เพื่อเปิดโอกาสแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในการสร้างผลกระทบทางสังคมอันพึงประสงค์เพื่อดำเนินการวิจัย และเปิดเวทีทางด้านวิชาการที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ข้างต้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook Fanpage : Yunus Thailand หรือ Website : Yunus Thailand (yunus-thailand.org) และ Yunus Centre : https://www.muhammadyunus.org/